Last updated: 28 มี.ค. 2562 | 30789 จำนวนผู้เข้าชม |
3 วิธีการเลือกรองเท้า สุขภาพให้เหมาะกับลักษณะเท้าของแต่ละคน
ด้วยลักษณะเท้าของแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้การมองหารองเท้า สุขภาพจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของเท้าให้มากที่สุด เพื่อให้การเดินทางของคุณเต็มไปด้วยความนุ่ม เบา และสบายเท้าให้มากที่สุด โดยไร้ความกังวลว่าจะเกิดผลข้างเคียงใดๆ ซึ่งไม่เพียงแต่ลักษณะของเท้าเท่านั้น หากแต่รองเท้า สุขภาพเองก็ยังถูกออก แบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับเท้าของแต่ละคน เพื่อให้การสวมใส่รองเท้า สุขภาพเป็นไปด้วยความราบรื่นที่สุด มาดูการเลือกรองเท้า สุขภาพให้เหมาะกับลักษณะเท้าของคุณกันดีกว่า
รองเท้า สุขภาพสำหรับคนเท้าแบน
คนที่มีลักษณะฝ่าเท้าแบนจะมีทั้งแบบแบนถาวรและแบนชั่วคราว การที่คุณมีฝ่าเท้าแบนจะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดบริเวณกลางฝ่าเท้าตลอดเวลาที่เดิน เพราะเอ็นซึ่งทำหน้าที่ยกอุ้งเท้าถูกดึงยึด หากคุณเป็นคนฝ่าเท้าแบนชั่วคราวหรือฝ่าเท้าที่มีลักษณะแบนเมื่อเหยียบพื้น ควรเลือกสวมรองเท้า สุขภาพที่เป็นแบบลักษณะ ใช้พื้นรองฝ่าเท้าที่นิ่มเพื่อช่วยให้เส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้าและเป็นแบบที่มีลักษณะการหุ้มด้านข้างและหลังเท้า เพื่อพยุงไม่ให้ส้นมีการเท้าบิดหรือทำให้เท้าล้มเข้าด้านใน แต่หากคุณมีฝ่าเท้าที่แบนถาวร ควรเลือกรองเท้า สุขภาพที่ด้านข้างกว้างด้วย
รองเท้า สุขภาพสำหรับคนอุ้งเท้าสูง
การเลือกรองเท้า สุขภาพ สำหรับผู้ที่มีปัญหาอุ้งเท้าสูง ที่มักจะปวดบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้า ทำให้การรับน้ำหนักของอุ้งเท้าส่วนกลางหายไป รองเท้า สุขภาพที่เลือกสวมควรมีลักษณะเสริมอุ้งเท้าส่วนกลาง คือมีลักษะยกนูนช่วงกลางฝ่าเท้าและเสริมอุ้งเท้า เพื่อเป็นการช่วยกระจายน้ำหนักจากฝ่าเท้าด้านหน้าหรือส้นเท้ามาที่อุ้งเท้า ทั้งนี้อุ้งเท้าที่ยกสูงขึ้นของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน ทำให้บางครั้งคนที่มีอุ้งเท้าสูงแต่ไม่มากเลือกซื้อรองเท้าที่เสริมอุ้งเท้าสูงเกินไปทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยแทนที่จะช่วยบรรเทา ข้อแนะนำของเราคือควรเลือกรองเท้า สุขภาพที่มีพื้นนิ่มและมีความยืดหยุ่นสูงสำหรับคนอุ้งเท้าสูงปกติ แต่ถ้าสูงมากจนผิดรูปจำเป็นต้องหารองเท้าที่เสริมอุ้งเท้าส่วนกลางมาสวมใส่เท่านั้น
รองเท้า สุขภาพสำหรับคนปวดส้นเท้าบ่อยๆ
การปวดส้นเท้าในปัจจุบันเป็นกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเลือกรองเท้าไม่เหมาะกับตัวเอง หรือเป็นรองเท้าไม่มีคุณภาพ ใช้วัสดุในการผลิตที่ไม่ดีทำให้เกิดการปวดส้นเท้าบ่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากจุดยึดพังผืดบริเวณส้นเท้าอักเสบและมักจะรู้สึกปวดมากหลังตื่นนอนในการเดินก้าวแรก เพราะพังผืดจะถูกยืดทันทีทันใด การเลือกรองเท้า สุขภาพที่เหมาะกับผู้ที่ปวดส้นเท้าบ่อยๆ ควรมีพื้นนิ่ม และมีส้นเล็กน้อยเพื่อให้เกิดการถ่ายน้ำหนักไปยังเท้าส่วนหน้า
*นอกจากการใส่รองเท้า สุขภาพที่ช่วยแล้ว ก่อนลุกจากเตียง เราสามารถทำการบริหารเท้าได้โดยการนั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืดไปด้านหน้า จากนั้นค่อยๆ ใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าเอาไว้ ขาอีกข้างชันเข่าขึ้น แล้วจึงออกแรงดึงปลายผ้าทั้งสองข้างเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องตึง ค่อยๆ ค้างไว้ทำทุกวัน ทำบ่อยๆ จะช่วยลดการปวดเท้ารวมไปถึงการบริหารเพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย และยังช่วยลดการเกิดอาการช้ำหรืออาการปวดของส้นได้
11 ต.ค. 2562
14 ส.ค. 2562