Last updated: 28 มี.ค. 2562 | 6255 จำนวนผู้เข้าชม |
สาเหตุของโรคเบาหวานนั้น โดยปกติ ระบบการเผาผลาญของร่างกายจะย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปให้อยู่ในรูปแบบของน้ำตาลกลูโคส และมีฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตได้จากตับอ่อนนำน้ำตาลกลูโคสเหล่านี้ไปเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน แต่ในผู้ป่วยเบาหวาน ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสเข้าไปในกระแสเลือดได้ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือเนื้อเยื่อเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเบาหวานตามประเภทที่พบโดยทั่วไปได้ดังนี้
เบาหวานประเภทที่ 1 เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ ผู้ป่วยประเภทนี้จึงจำเป็นต้องได้รับอินซูลินเข้าสู่ร่างกายด้วยการฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาในระยะยาว ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่โรคเบาหวานชนิดนี้
เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะการดื้นอินซูลิน หรือความผิดปกติในการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินของตับอ่อนน้อยเกินไป โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องจาก
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกขณะตั้งครรภ์เท่านั้น โดยผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติการเป็นโรคเบาหวานมากก่อน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่มีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จนเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าเกณฑ์ปกติ และมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
นอกจากนี้เบาหวานยังสามารถเกิดได้จากโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น เบาหวานจากโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง เบาหวานจากโรคต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ฮอร์โมนผิดปกติจากการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น
โรคเบาหวาน มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าสูงเนื่องจากมีการเสื่อมของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบเลือดไปเลี้ยงบริเวณเท้าน้อยลง รวมทั้งมีการเสื่อมของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงยังเท้า แผลที่เท้าจากโรคเบาหวาน เป็นอาการบาดเจ็บที่นำไปสู่การตัดขาที่พบมากที่สุด การป้องกันและให้การวินิจฉัยตั้งแต่แรกมีความสำคัญมาก การดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องใช้องค์ความรู้ที่ครบถ้วน เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่อาจนำไปสู่การตัดอวัยวะ
แนวทางการดูแลรักษาป้องกันเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
1. การตรวจและการดูแลเท้าอย่างสม่ำเสมอ มีวิธีดูว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้าดังนี้
2. รองเท้าพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานมีความจำเป็นต้องใช้รองเท้าชนิดพิเศษมากเพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดแผล และหากมีแผลและรักษาแผลหายแล้วก็ยังต้องใช้รองเท้าชนิดพิเศษต่อไป เพื่อไม่ให้แผล เกิดซ้ำขึ้นมาอีก จากการวิจัยของ King’s college ของประเทศอังกฤษพบว่าผู้ป่วยที่หายเป็นแผลแล้วกลับมาใส่รองเท้าปกติ มีโอกาสเป็นแผล ซ้ำถึง 83% ส่วนผู้ป่วยที่ใส่รองเท้าพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดแผลซ้ำเพียง 17% เท่านั้น
คุณสมบัติของรองเท้าที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน
เหตุผลทางเทคนิคในลักษณะรองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน
*แบบรองเท้าที่แนะนำสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน https://bit.ly/2Mp7Q7A
ที่มาส่วนนึงของบทความ : https://bit.ly/2N8pZTc https://bit.ly/2w7RZQH
14 ส.ค. 2562
11 ต.ค. 2562